บทความ เรื่องวงการก่อสร้าง

idroof idroof

ควรเลือกใช้เหล็กโครงหลังคาที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม
ขอบคุณภาพ :
- www.teakdoor.com
- www.cotcometalworks.co.th

โครงหลังคาเหล็ก VS โครงหลังคาสำเร็จรูป

ไม่ว่าจะเป็น โครงหลังคาเหล็ก หรือ โครงหลังคาสำเร็จรูป สามารถออกแบบสำหรับการมุงหลังคาด้วยวัสดุต่าง ๆ ได้ทุกประเภท หากแต่ควรเลือกใช้ให้เข้ากับการใช้งาน และรูปแบบหลังคาอย่างเหมาะสมด้วย

ถัดจากโครงสร้างหลักในงานก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง ลำดับต่อไปคือการขึ้นโครงหลังคาซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยเช่นกัน ถึงแม้จะมีไว้เพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เท่านั้น แต่หากโครงหลังคาไม่แข็งแรงเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นขนาดที่เหมาะสม รวมถึงการเชื่อมต่อยึดติดให้แน่นหนา แน่นอนว่าจะส่งผลต่อผืนหลังคาตั้งแต่ปัญหาการรั่วซึมเล็กน้อยไปจนถึงอันตรายสูงสุดคือพังทลายลงมา

โครงหลังคาที่ใช้กันมากในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น “โครงหลังคาเหล็ก” รวมถึง “โครงหลังคาสำเร็จรูป” ที่กำลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความแตกต่างด้านคุณสมบัติ มาตรฐาน และการใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ก็มีอยู่พอสมควร การเลือกใช้จึงควรพิจารณาตามความเหมาะสมของหลังคาบ้านแต่ละรูปแบบ

สำหรับโครงหลังคาเหล็กที่ใครหลาย ๆ คนคุ้นเคยดีกับรูปแบบหน้าตัดเหล็กต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เหล็กกล่อง และเหล็กรูปตัวซี ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านค้าเหล็กรูปพรรณต่าง ๆ จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้รับเหมา และช่างที่ชำนาญในงานเหล็ก เพราะเมื่อขาดเหลือระหว่างการทำงานก็วิ่งจัดหามาทำงานต่อได้ไม่ยาก แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคือเรื่องคุณภาพของเหล็ก เนื่องจากเหล็กที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป

ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นเหล็กรีดซ้ำ หรือเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลที่เรียกกันว่า “เหล็กเบา” ซึ่งมีราคาประหยัด แต่มีประสิทธิภาพในการรับแรงด้อยกว่าเหล็กตามมาตรฐานที่เรียกว่า “เหล็กเต็ม” พอสมควร ดังนั้นจึงควรตรวจสอบเหล็กที่นำมาใช้ทำโครงหลังคา โดยสังเกตที่เครื่องหมาย มอก. หรือเครื่องหมายแสดงมาตรฐานอื่นๆ เช่น ASTM, BSI, JIS ฯลฯ ซึ่งจะระบุอยู่ที่เหล็กแต่ละท่อน

การติดตั้งโครงหลังคาเหล็กจะเป็นการติดตั้งหน้างานทั้งหมด และต้องอาศัยความชำนาญของช่างที่มีประสบการณ์มากพอสมควร จึงจะได้งานเชื่อมติดตั้งเหล็กที่แข็งแรง การเชื่อมเหล็กแต่ละท่อนให้ติดกันแบบที่เรียกว่า “การเชื่อมเต็ม” เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากไม่แพ้คุณภาพของเหล็ก โดยในขั้นตอนแรกของการเชื่อมเหล็กโครงหลังคาจะเป็น “การเชื่อมแต้ม” เพื่อยึดเหล็กแต่ละท่อนไว้ก่อนคร่าว ๆ เผื่อมีการแก้ไขจะได้เคาะแนวรอยเชื่อมเพื่อขยับตำแหน่งเหล็กได้ หลังจากนั้นจึงจะทำการเชื่อมเต็มหน้าตัดเหล็ก ซึ่งผู้ควบคุมงานควรตรวจสอบรอยเชื่อมทุกจุดว่าหนาแน่นเป็นเกล็ดปลาเรียบร้อยดีหรือไม่ โดยเจ้าของบ้านก็สามารถช่วยตรวจสอบในเบื้องต้นเองได้

ที่มา รูปและบทความ : scgbuildingmaterials.com


idroof

ลวดเหล็ก หรือ Steel Wire

ลวดเหล็กตัวนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเดียวนะครับ มันแบ่งย่อยประเภทออกไปอีกหลายตัวแต่ผมจะยกมาเพียงแค่ 2 ตัวหลักก่อน เริ่มที่

ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Wire) หรือเรียกสั้น ๆ ย่อ ๆ ว่า PC WIRE (พีซี ไวร์) โดยลวดเหล็กตัวนี้ก็มีหลายรูปแบบครับอันได้แก่ แบบเรียบ แบบหยัก รอยย้ำ แบบแชฟรอน แบบบั้ง แต่ตรงนี้ไม่มีความสำคัญอะไรเท่าไหร่นักเพราะทางเทคนิคแล้วทุกแบบสามารถแทน กันได้หมด ที่แทนกันไม่ได้ก็เห็นจะเป็นเรื่องขนาดเท่านั้น แต่ด้วยรูปแบบที่ต่างกันของลวดเหล็กในแต่ละแบบจะมีผลต่อการยึดเกาะของ คอนกรีตเท่านั้นเองครับ โดยลวดเหล็กชนิดนี้จะมีขนาดที่ 4 – 9 มม. ครับ ซึ่งลวดเหล็กแต่ละขนาดก็จะแบ่งประเภท (เกรด) ออกเป็นขนาดละ 2 เกรด เช่น ขนาดที่ 4 มม. จะมีเกรดที่ 1670 กับ 1770 ตรงคำว่าเกรดสำคัญตรงไหนนั้นผมจะบอกให้ครับว่ามันคือความทนแรงดึงซึ่งระบุ เป็นนิวตันต่อตารางมิลลิเมตร หากอยากรู้ว่าแต่ละเกรดต่างกันอย่างไรต่างกันขนาดไหนผมแนะนำว่าให้เอาตารางส เป็คของเหล็กชนิดนี้มากางดูครับแล้วคุณจะพบความแตกต่าง ก่อนที่เราจะไปดูรูปว่าหน้าตาเป็นอย่างไรผมขอสรุปก่อนว่า เหล็กตัวนี้เรียกว่า “PC WIRE” ซึ่งทุกโรงผลิตและทุกบริษัทจะเรียกเป็นชื่อนี้ทั้งหมด (เพราะคงไม่มีใครมาเรียกว่า “ลวดเหล็กกล้าสำหรับคอนกรีตอัดแรง” มันยาว…) และที่ประการสำคัญคือเหล็กตัวนี้ต้องได้รับ มอก.95 นะครับ เพราะเหล็กชนิดนี้เค้าเอาไปใช้งานเกี่ยวกับโครงสร้างจึงจำเป็นมากที่ต้องได้ มาตรฐานอุตสาหกรรม พูดมาซะยาวไปดูรูปกันเลยดีกว่า


idroof

สมัยนี้อะไรๆ ก็ “สำเร็จรูป” ไม้เว้นแต่ในวงการออกแบบก่อสร้าง

ซึ่งผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างเกือบทุกรายพยายามจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนให้สามารถ ใช้งานได้ง่าย กาวซีเมนต์สำเร็จรูป ก็เป็นอีกตัวอย่างผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผู้ผลิตมักจะโฆษณาให้เห็นว่า สามารถใช้งานได้ง่าย เจ้าของบ้านสามารถใช้งานได้ง่ายๆ ด้วยตนเองกาวซีเมนต์ คือ กาวปูกระเบื้องสำเร็จรูป ที่มีการเพิ่มสารยึดเกาะที่มีคุณสมบัติพิเศษช่วยในการยึดเกาะให้สูงขึ้นทำให้สามารถปูกระเบื้องลงไปบนพื้นผิวต่างๆ ได้ ทำให้เวลาปูกระเบื้องผนัง กระเบื้องจะไม่ลื่นไหล สามารถรับแรงหรือน้ำหนักได้มากกว่าปกติ ทำให้กระเบื้องติดแน่น ไม่หลุดร่อน ใช้งานได้ง่าย เพียงเติมน้ำและผสมให้เข้ากัน ก็สามารถใช้งานได้ทันที เพื่อลดขั้นตอนของการเตรียม “ปูนทราย” ซึ่งมีขั้นตอนในการเตรียมที่ยุ่งยากวุ่นวายหลายขั้นตอน

ผู้ผลิตกาวซีเมนต์มักจะมีการแบ่งผลิตกาวซีเมนต์เป็นหลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  1. สำหรับปูกระเบื้องบนพื้นและผนังซีเมนต์ มักจะแบ่งย่อยเป็น สำหรับการปูกระเบื้องที่ดูดซึมน้ำ (มีค่าการดูซึมน้ำมากกว่า 3 %) เช่น กระเบื้องเซรามิคทั่วไป กระเบื้องดินเผา และ สำหรับปูกระเบื้องดูดซึมน้ำต่ำ (มีค่าการดูซึมน้ำอยู่ระหว่าง 0.5 - 3 %) เช่น แกรนิตโต้ หรือไม่ดูดซึมน้ำ (มีค่าการดูซึมน้ำน้อยกว่า 0.5 %) เช่น โมเสคแก้ว โมเสคเทียม
  2. สำหรับปูกระเบื้องลงบนพื้นผิวทางสัญจรและมีการสั่นสะเทือน ซึ่งจะเป็นกาวซีเมนต์พิเศษที่มีแรงยึดเกาะสูงมากเป็นพิเศษเพราะต้องทนทานต่อแรงสั่นสะเทือนของยานพาหนะที่วิ่งผ่านไปมา
  3. สำหรับปูกระเบื้องลงบนพื้นและผนังไม้, ไม้เทียม, ไม้อัดซีเมนต์ และยิปซั่มบอร์ด
  4. สำหรับปูกระเบื้องลงบนพื้นผิวมันวาว เช่น พลาสติก พีวีซี โลหะ กระเบื้องเดิม

จะเห็นได้ว่ามีกาวซีเมนต์หลายชนิดให้เราได้เลือกกันจนลายตา แต่หากกลัวว่าจะเลือกไม่ถูก ก็ลองสอบถามจากเจ้าหน้าที่ตัวแทนก็ได้ครับเพื่อให้ได้กาวซีเมนต์ที่ถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานของเราเพราะดูเหมือนว่าการที่ผู้ผลิตออกผลิตภัณฑ์ให้เราเลือกใช้มากๆบางทีก็ทำให้เกิดความสับสนกับผู้ใช้งานเหมือนกันถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะพยายามทำให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองใช้งานง่ายเพื่อจูงใจให้เจ้าของบ้านเลือกใช้งานแต่ถึงจะง่ายกว่าเดิมอย่างไรก็ตามก็ต้องใช้ความชำนาญพอสมควรในการทำงานโดยเฉพาะในการปูกระเบื้องในพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญจะดีกว่า แต่หากเป็นการซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย

และท่านใดที่อยากจะทดลองลงมือเองการใช้งานกาวซีเมนต์ก็มีข้อปฏิบัติทั่วๆ ไปที่เราควรรู้ไว้ก็คือ

  1. หากต้องการซ่อมแซมกระเบื้องที่แตกร้าว ต้องทำการสกัดกระเบื้องแผ่นเก่าออกอย่างระมัดระวัง และควรใช้ฆ้อนยางเคาะตรวจสอบกระเบื้องแผ่นข้างเคียงด้วยว่ามีเสียงของโพรง อากาศอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็ควรรื้อออกด้วยเช่นกัน
  2. ทำความสะอาดพื้นผิวกำจัดฝุ่นและเศษผงต่างๆ คราบไขมันออกให้หมด ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง เพราะความชื้นจะทำให้กาวซีเมนต์ลดประสิทธิภาพลง
  3. กาวซีเมนต์ที่ผสมแล้วจะมีระยะเวลากำหนดการใช้งานระบุไว้ที่ข้างผลิตภัณฑ์ ซึ่งแต่ละชนิดอาจไม่เท่ากันควรใช้ให้หมดตามเวลาที่กำหนด
  4. ควรใช้เกรียงหวีในการปาดกาวซีเมนต์เพื่อให้ได้ความหนาของกาวซีเมนต์ตามที่ต้องการ และระวังอย่าให้เกิดโพลงอากาศใต้ผิวกระเบื้องเมื่อปูกระเบื้อง และไม่ควรนำกระเบื้องไปแช่น้ำก่อนปูเหมือนกับการปูกระเบื้องด้วยปูนทราย เพราะความชื้นจะทำให้ประสิทธิภาพของกาวซีเมนต์ลดลง
  5. ควรทิ้งระยะเวลาให้กาวซีเมนต์แห้งเสียก่อนทำการยาแนวกระเบื้อง โดยทั่วๆ ไปก็จะทิ้งระยะเวลาไว้ประมาณ 1 วัน และทิ้งระยะเวลาไว้อีกประมาณ 1 -2 วันก่อนเปิดให้ใช้งานเพื่อให้กาวซีเมนต์เซตตัวได้เต็มที่